ตรวจเต้านมด้วยตนเองนั้นสำคัญยิ่งจริงหรือ
การตรวจเต้านมด้วยตนเองนั้นสำคัญยิ่งสำหรับเพศหญิงไม่ว่าจะเป็นหญิงสาว หญิงสวย หญิงเก่ง หญิงงาม หรือ หญิงอาวุโส เพราะการตรวจพบความผิดปกติของเต้านมได้เร็วเท่าไหร่การรักษาย่อมจะได้ผลดีมากขึ้นตามไปด้วย เมื่อเกิดเป็นหญิงแล้วจะต้องฝึกคลำเต้านมตนเองให้เป็น แล้วอย่าลืมคลำเต้านมตนเองเดือนละ 1 ครั้ง เมื่อคลำไปหลาย ๆ ครั้งเข้าก็จะคุ้นเคยกับความยืดหยุ่นของเต้านมปกติ เมื่อใดที่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นก็จะรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนั้นได้
คลำเต้านมเมื่อไหร่ดี
เวลาที่เหมาะสมสำหรับการคลำเต้านมด้วยตนเองคือประมาณ 7 วันหลังมีประจำเดือน เพราะว่าในระยะนั้นเต้านมจะไม่ค่อยตึง และเวลาคลำก็ไม่ค่อยเจ็บ หรืออาจจะกำหนดวันคลำเต้านมของแต่ละเดือนไว้ให้แน่นอน สำหรับผู้ที่ประจำเดือนรวนเรมาไม่แน่นอน เช่น คลำทุกวันที่ 1 ของเดือน เพื่อกันลืม
เต้านมเปลี่ยนไปหรือเปล่า
1. การเปลี่ยนแปลงของขนาด
2. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเต้านม เช่น บุ๋มลงไป ดึงรั้ง ผิวหนังเปลี่ยนสี
3. มีของเหลวผิดปกติไหลออกจากหัวนม
วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
1. นอนหงาย แล้วนำหมอนมาหนุนใต้ไหล่ขาวสำหรับการตรวจข้างขาว
2. ใช้น้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางของมือซ้ายกดลงไปทั่วบริเวณเต้านม โดยอาจจะใช้การคลำเป็นวงกลมรอบ ๆ หัวนมและค่อย ๆ ขยับออกไปทางด้านนอก
3. คลำเต้านมเช่นนี้ให้ครบทั้งซ้ายขวา
ห่วงใยและแบ่งปัน โดย โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ไวรัสตับอักเสบบี
ร้อนตับแตกยังไม่น่ากลัวเท่ากับตับแข็ง หลายคนคงเคยได้ยินข่าวการเสียชีวิตของคนโน้น คนนี้ด้วยโรคตับแข็งบ้าง ท้องมานบ้าง ใครจะรู้บ้างว่าไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี เป็นที่มาของมะเร็งตับตับแข็ง ตับวาย ท้องมาน รู้แล้วจะหายร้อนตับแตกกลายเป็นหนาวสะท้าน
โรคตับอักเสบ คือ โรคที่เซลล์ตับถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย สารพิษ ยาบางชนิด หรือ เหล้า ที่พบมาก ๆ ในประเทศไทยคือ โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ตับอักเสบชนิดเอ ชนิดบี ชนิดซี ชนิดดี ชนิดอี และเหตุผลที่ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคยกับชื่อตับอักเสบบีกันมากมายนั้นเป็นเพราะว่าในระยะยาวตับอักเสบบีจะมีผลรุนแรงกว่าตับอักเสบชนิดอื่น เชื่อหรือไม่ว่า 80 % ของผู้ป่วยมะเร็งตับนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และขณะเดียวกันผู้ที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบบีก็มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับถึง 100 เท่า และที่น่าเป็นห่วงคือ 6 % ของประชากรไทยเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี
ใครเป็นพาหะของโรคตับอักเสบบี ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก็จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคตับอักเสบบี หลังจากหายแล้วผู้ป่วยบางรายจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น และประมาณ 10 – 20 % ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือดและตับ โดยอาจจะมีอาการตับอักเสบเรื้อรังหรือไม่มีอาการก็ได้ ทั้งสองกลุ่มนี้เป็นบุคคลอันตราย เพราะเขาคือพาหะของโรคตับอักเสบบี ขณะที่พาหะก็มีโอกาสจะกลับมาเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่าพาหะโรคตับอักเสบบีเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับมากกว่าคนอื่นถึง 100 เท่า
อาการของโรคตับอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง เบื่ออาหาร สังเกตดี ๆ อาการนี้จะแตกต่างจากคนหมดพลังเบื่องานเพราะขี้เกียจ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และยังมีไข้ต่ำ ๆ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ที่เราเรียกกันว่าเป็นดีซ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะต้องพักผ่อนต่อไปอีกประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้
การติดต่อ ไวรัสตับเสบบี ติดต่อได้ง่าย ๆ ผ่านการสัมผัสเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ เช่น
1. การรับการถ่ายเลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีไวรัสอยู่
2. การใช้เข็มฉีดยาที่มีเชื้อปนเปื้อน การเจาะหู การสัก การทำฟัน ด้วยเครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
3. การใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของใช้ที่มีโอกาสปนเปื้อนเลือ เช่น แปรงสีฟัน ใบมีดโกน ที่ตัดเล็บ
4. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคนี้หรือผู้เป็นพาหะโรคนี้โดยไม่มีการป้องกัน
5. การจับต้อง สัมผัสกับเลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ป่วยโรคนี้หรือผู้เป็นพาหะโรค ทำให้เชื้อผ่านเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลโดยไม่รู้ตัว เช่น การกัดกันเล่น ๆ ของเด็ก ๆ
6. การรับเชื้อจากแม่ขณะอยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด
การป้องกัน มีวิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบบีที่มีประสิทธิภาพคือการฉีดวัคซีน และเด็กที่เกิดในเมืองไทยนับตั้งแต่ปี พศ.2535 จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีทุกคน
อายุมากแล้วจะฉีดวัคซีนได้ไหม อายุไม่ใช่ปัญหา วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีสามารถฉีดได้กับคนทุกวัย แต่ควรจะรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมรับการตรวจเลือดดูว่ามีภูมิอยู่แล้ว หรือมีเชื้ออยู่ก่อนหรือไม่
กำหนดการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี มีกำหนด 3 ครั้ง ครั้งที่สองฉีดหลังจากครั้งที่หนึ่ง 1 เดือน และครั้งสุดท้ายฉีดหลังจากครั้งที่สอง 5 เดือน
ห่วงใยและแบ่งปันโดย โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
โรคตับอักเสบ คือ โรคที่เซลล์ตับถูกทำลายโดยเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย สารพิษ ยาบางชนิด หรือ เหล้า ที่พบมาก ๆ ในประเทศไทยคือ โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ตับอักเสบชนิดเอ ชนิดบี ชนิดซี ชนิดดี ชนิดอี และเหตุผลที่ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคยกับชื่อตับอักเสบบีกันมากมายนั้นเป็นเพราะว่าในระยะยาวตับอักเสบบีจะมีผลรุนแรงกว่าตับอักเสบชนิดอื่น เชื่อหรือไม่ว่า 80 % ของผู้ป่วยมะเร็งตับนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และขณะเดียวกันผู้ที่เป็นพาหะของโรคตับอักเสบบีก็มีภาวะเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตับถึง 100 เท่า และที่น่าเป็นห่วงคือ 6 % ของประชากรไทยเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี
ใครเป็นพาหะของโรคตับอักเสบบี ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก็จะกลายเป็นผู้ป่วยโรคตับอักเสบบี หลังจากหายแล้วผู้ป่วยบางรายจะมีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น และประมาณ 10 – 20 % ของผู้ป่วยจะมีเชื้อไวรัสในเลือดและตับ โดยอาจจะมีอาการตับอักเสบเรื้อรังหรือไม่มีอาการก็ได้ ทั้งสองกลุ่มนี้เป็นบุคคลอันตราย เพราะเขาคือพาหะของโรคตับอักเสบบี ขณะที่พาหะก็มีโอกาสจะกลับมาเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่าพาหะโรคตับอักเสบบีเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับมากกว่าคนอื่นถึง 100 เท่า
อาการของโรคตับอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง เบื่ออาหาร สังเกตดี ๆ อาการนี้จะแตกต่างจากคนหมดพลังเบื่องานเพราะขี้เกียจ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย และยังมีไข้ต่ำ ๆ ตาเหลือง ตัวเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม ที่เราเรียกกันว่าเป็นดีซ่าน อาการเหล่านี้จะเป็นอยู่ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะต้องพักผ่อนต่อไปอีกประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ จึงจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้
การติดต่อ ไวรัสตับเสบบี ติดต่อได้ง่าย ๆ ผ่านการสัมผัสเลือด น้ำคัดหลั่งของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะ เช่น
1. การรับการถ่ายเลือด หรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีไวรัสอยู่
2. การใช้เข็มฉีดยาที่มีเชื้อปนเปื้อน การเจาะหู การสัก การทำฟัน ด้วยเครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง
3. การใช้ของใช้ส่วนตัวบางอย่างร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะของใช้ที่มีโอกาสปนเปื้อนเลือ เช่น แปรงสีฟัน ใบมีดโกน ที่ตัดเล็บ
4. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยโรคนี้หรือผู้เป็นพาหะโรคนี้โดยไม่มีการป้องกัน
5. การจับต้อง สัมผัสกับเลือด น้ำคัดหลั่ง ของผู้ป่วยโรคนี้หรือผู้เป็นพาหะโรค ทำให้เชื้อผ่านเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลโดยไม่รู้ตัว เช่น การกัดกันเล่น ๆ ของเด็ก ๆ
6. การรับเชื้อจากแม่ขณะอยู่ในครรภ์ หรือระหว่างคลอด
การป้องกัน มีวิธีป้องกันไวรัสตับอักเสบบีที่มีประสิทธิภาพคือการฉีดวัคซีน และเด็กที่เกิดในเมืองไทยนับตั้งแต่ปี พศ.2535 จะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีทุกคน
อายุมากแล้วจะฉีดวัคซีนได้ไหม อายุไม่ใช่ปัญหา วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีสามารถฉีดได้กับคนทุกวัย แต่ควรจะรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมรับการตรวจเลือดดูว่ามีภูมิอยู่แล้ว หรือมีเชื้ออยู่ก่อนหรือไม่
กำหนดการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี มีกำหนด 3 ครั้ง ครั้งที่สองฉีดหลังจากครั้งที่หนึ่ง 1 เดือน และครั้งสุดท้ายฉีดหลังจากครั้งที่สอง 5 เดือน
ห่วงใยและแบ่งปันโดย โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
ป้ายกำกับ:
ทั่วไป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)