วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

อาหารกับ การควบคุมเบาหวาน

โภชนาการที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของการควบคุมเบาหวาน

การควบคุมอาหาร คือ การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ
ของร่างกาย จะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือดและความดันโลหิตได้ ผู้ป่วยหวานจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนนิสัยการบริโภคบางอย่างไปสู่การรับประทานอย่างมีคุณภาพ เพราะจะช่วย
ป้องกันและชะลอโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

เริ่มต้นควบคุมอาหารอย่างไร
- การควบคุมอาหารไม่ใช่การอดอาหาร ควรเริ่มต้นจาก
- การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เพื่อคำนวณหาน้ำหนักที่เหมาะสมของท่าน
เพื่อประเมินว่าท่านควรเพิ่มหรือลดน้ำหนัก
- รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่รับประทานได้และอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- ปริมาณอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อต่อวัน ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ น้ำหนัก และกิจกรรมของแต่ละคน

การเลือกประเภทอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
อาหารที่รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน อาหารที่ให้พลังงานต่ำ และมีใยอาหารได้แก่ ผักใบเขียวและผักใบขาวทุกชนิด เช่น ผักตำลึง ผักบุ้ง ผักกาดขาว กะหล่ำปลี บวบ แตงกวา เป็นต้น เครื่องเทศต่างๆ เครื่องปรุง และเครื่องดื่ม เช่น ชาเขียว ไม่ใส่น้ำตาล
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่
- ขนมหวานหรืออาหารที่มีน้ำตาล เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมชั้น ถั่วแปบ เป็นต้น
- เครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาล เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้กระป๋อง น้ำผึ้ง เครื่องดื่มชูกำลัง และนมปรุงแต่งรส
- อาหารหมักดอง อาหารตากเค็ม อาหารเค็มบรรจุถุง เช่นมันฝรั่งอบกรอบ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
- เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อาหารที่รับประทานได้…แต่ควรจำกัดจำนวน ได้แก่
- อาหารจาก ข้าว แป้ง น้ำตาล (คาร์โบไฮเดรต) ซึ่งเป็นอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และทำให้อ้วนได้
- เนื้อสัตว์หรือโปรตีน ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ควรบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย ๆ เช่น เนื้อปลา เนื้อหมู หรือไก่ ไม่ติดหนังติดมัน หรือโปรตีนจาก
พืช เช่น เต้าหู้
- ไขมัน เป็นอาหารที่ควรได้รับในปริมาณที่จำกัดเนื่องจากให้พลังงานสูง
ควรหลีกเลี่ยงไขมันจากสัตว์เพราะทำให้ไขมันในเลือดสูงมีผลทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง
โรคหัวใจขาดเลือดได้
- ผลไม้ เช่น ส้ม กล้วย มะละกอ แตงโม ต้องกำหนดปริมาณให้เหมาะสม
เพราะถ้ารับประทานในปริมาณมากทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้
- นม ควรดื่มนมจืด หรือพร่องมันเนยที่ไม่ปรุงแต่งรส ในปริมาณที่เหมาะ
- ผลไม้ 1 ส่วน เช่น ส้ม 1 ผล แอปเปิ้ล 1 ผล หรือ นม 1 แก้ว หรือขนมปัง 1 แผ่นเหมาะสำหรับการออกกำลังกายที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาที
- อาหารว่างประกอบด้วย แป้ง เนื้อสัตว์และไขมัน เช่น แซนด์วิชไก่
เหมาะสำหรับการออกกำลังกายที่ใช้เวลาไม่เกิน 45 นาที
- เพิ่มปริมาณอาหารว่างมากขึ้น กรณีที่ออกกำลังกายนานขึ้น
และภายหลังออกกำลังกายแล้วให้รับประทานอีกครั้ง

ทั้งนี้อาหารว่างที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายจำเป็นต้องมีการประเมินจากระดับน้ำตาลในเลือด
และลักษณะการใช้แรงออกกำลังกายร่วมด้วย


แบ่งปันสาระสุขภาพดีๆ โดย "ศูนย์เบาหวาน" โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร.1719
www.PhuketHospital.com
e-Mail: info@phukethospital.com

ไม่มีความคิดเห็น:

 
ThaiBlog.info