วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่สามารถป้องกันได้

โรคกระดูกพรุน คือ ภาวะเนื้อกระดูกลดลงทำให้กระดูกสูญเสียความแข็งแรง มีความเปราะบางง่าย ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รับอุบัติเหตุที่ร้ายแรงก็ตาม

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน
- อยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือสูงอายุ
-
มีประวัติโรคกระดูกพรุนหรือหกล้มแล้วมีกระดูกหักใน เช่น มารดา พี่สาว หรือน้องสาว
-
รูปร่างเล็ก และผอมบาง
-
รับประทานอาหารที่มีแคลซียมไม่เพียงพอ
-
รับประทานอาหารโปรตีนและรสเค็มมากเกินไป
-
ไม่ออกกำลังกาย
-
ดื่มสุรา สูบบุหรี่ หรือดื่มกาแฟมากกว่าวันละ 2 แก้ว
-
ใช้ยาสเตอรอยด์ ยากันชัก หรือได้รับยาฮอร์โมนธัยรอยด์ขนาดสูงเป็นเวลานาน
-
มีโรคเรื้อรัง

โรคกระดูกพรุน ภัยมืดที่รุกเงียบ เนื่องจากโรคนี้ค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ จึงไม่แสดงอาการใดๆ ให้ทราบ จนกว่าจะเป็นมากถึงขั้นกระดูกพรุนจึงจะมีอาการบ่งบอกว่าเป็นโรคนี้ เช่น ตัวเตี้ยลงเร็วปีละมากกว่า 1 ซม. กล้ามเนื้อลีบเล็กลง กระดูกสันหลังโก่งงอหรือคด มีอาการปวดหลัง เป็นเองหายเองสลับกันไป ในรายที่กระดูกสะโพกหักอาจถึงแก่ชีวิตได้ 50% และ 50% ที่รอดจะพิการถึงครึ่งหนึ่ง ดังนั้นกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคกระดูกพรุนร่างกายก็จะเริ่มพิการแล้ว จึงนับว่าเป็นภัยมืดอย่างแท้จริง

การป้องกันและรักษาโรคกระดุกพรุน
-
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
-
รับประทานอาหารที่มีธาตุแคลเซียมสูง
-
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
-
หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
-
ระวังป้องกันการหกล้ม ในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันกระดูกหัก
-
ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงมากควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันไม่ไห้กระดูกหักเสียก่อน
-
รับประทานยายับยั้งการสลายกระดูกในกรณีที่แพทย์เห็นสมควร

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ info@phukethospital.com

หรือ อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์กระดูกและข้อโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตที่ www.PhuketHospital.com



ไม่มีความคิดเห็น:

 
ThaiBlog.info