การทำทันตกรรมรากเทียมเป็นวิวัฒนาการทางทันตกรรม เพื่อทำหน้าที่ทดแทนฟันแท้ที่สูญเสียไป อันเนื่องมาจากผลของโรคเหงือก ฟันผุหรือจากการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น รากเทียมผลิตขึ้นจากไทเทเนียม ซึ่งจะค่อยๆ ยึดติดแน่นในกระดูกภายใน 3-6 เดือนหลังทำการผ่าตัด จากนั้นรากเทียมจะทำหน้าที่รองรับการใส่ฟันปลอม การทำสะพานฟันและการครอบฟัน แพทย์จะทำการผ่าตัดทำทันตกรรมรากเทียมให้แก่คนไข้ โดยให้มีสภาพใกล้เคียงฟันธรรมชาติมากที่สุดและไม่มีผลข้างเคียงต่อฟันส่วนที่เหลืออยู่และเนื้อเยื่อภายในช่องปาก
คุณเหมาะสมต่อการทำทันตกรรมรากเทียมหรือไม่
คนไข้ที่จะเข้ารับการทำทันตกรรมรากเทียมจะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีสุขภาพภายในช่องปากที่ดี กล่าวคือ มีปริมาณกระดูกในบริเวณขากรรไกรที่เพียงพอเพื่อรองรับรากเทียมและที่สำคัญคือต้องมีเหงือกที่มีสุขภาพดีไม่เป็นโรค อย่างไรก็ตามการทำทันตกรรมรากเทียม คนไข้ควรพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและตรวจหาความเป็นไปได้ในการฝังรากฟันเทียม คนไข้จะถูกประเมินจากทันตแพทย์ถึงขนาดและรูปร่างของขากรรไกร คุณภาพและปริมาณความหนาแน่นของกระดูก รวมถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการครอบฟันอีกด้วย การทำทันตกรรมรากเทียมมีหลายวิธีซึ่งอาศัยระยะเวลาในการรักษาแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับวิธีการรักษา จำนวนฟันที่ต้องการทำการทดแทนและสุขภาพของคนไข้ โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ให้คำปรึกษาถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสม
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นขึ้นอยู่กับประเภทของการทำรากเทียมและสุขภาพของคนไข้ คนไข้อาจมีอาการชาต่อเนื่องไปอีก 2-3 วันหรือเป็นสัปดาห์เนื่องมาจากผลของยาชา มีอาการบวมบริเวณที่ทำการฝังรากเทียม โดยมักเป็นผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นชั่วคราว หลังจากนั้นอาการดังกล่าวจะหายเป็นปกติ
ศูนย์ทันตกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตได้เปิดให้บริการการทำทันตกรรม
รากเทียม ดังนี้
- การทำรากเทียมรองรับการครอบฟัน
- การทำรากเทียมรองรับสะพานฟัน
- การทำรากเทียมยึดฟันปลอมแบบถอดได้
- การทำรากเทียมรองรับฟันปลอมแบบถอดได้
- การทำรากเทียมรองรับฟันปลอมแบบติดแน่น
- การทำรากเทียมใช้งานได้ทันทีหลังจากฝังลงในกระดูก
แบ่งปันสาระสุขภาพดีๆ โดย "ศูนย์ทันตกรรม" โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ info@PhuketHospital.com
www.PhuketHospital.com
วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น