วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ข้อเข่าเทียม คือ ข้อเข่าที่ทำขึ้นมาจากโลหะและพลาสติก ทำเลียนแบบข้อเข่า เพื่อใช้ในการผ่าตัดใส่แทนข้อเข่าปกติ ในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพบริเวณผิวข้อเข่า

ข้อเทียมทำจากโลหะประเภท Stainless Steel, Cobalt Chromium Alloy หรือ Titanium ซึ่งเป็นโลหะที่ไม่มีปฏิกิริยาต่อร่างกายและพลาสติกพวก Polyethylene ซึ่งมีความทนทานต่อการเสียดสี
การผ่าตัดข้อเข่าเทียม

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม จะพิจารณาทำในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของผิวข้อเข่าอย่างรุนแรง ซึ่งเกิดได้จาก ภาวะเสื่อมจากการใช้งานหรืออายุที่เพิ่มขึ้น โรคข้อเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือจากอุบัติเหตุ เป็นผลทำให้เจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหวเข่า หรือเข่าหลวม ความมั่นคงเสียไป โดยไม่สามารถรักษาหรือทำให้อาการบรรเทาลงได้โดยวิธีการรักษาแบบอื่น

ชนิดของข้อเข่าเทียม
1. Total Condylar ข้อเทียมเปลี่ยนผิวหนังทั้งหมดของเข่าอาจมีการเปลี่ยนผิวของกระดูกสะบ้าหัวเข่าร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้
2. Unicondylar เปลี่ยนเฉพาะด้านเดียวของเข่า การเลือกใช้ข้อเข่าเทียมแบบใดขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของผู้ป่วย

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม
ก่อนการผ่าตัด เตรียมผู้ป่วยให้พร้อม โดยอายุรแพทย์ควบคุมปัญหาเรื่องโรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน และการทำงานของไตให้อยู่ในสภาวะพร้อมต่อการผ่าตัด
การผ่าตัด
- การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง
- ใช้วิธีการดมยาสลบหรือฉีดยาชา บริเวณที่ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์วิสัญญี
- หลังผ่าตัด จะมีสายยางระบบเลือดจากแผล
- พันผ้าหรือใส่เฝือกเข่า เพื่อให้เข่าอยู่นิ่งขณะผ่าตัด
- วันที่ 2 หลังผ่าตัด แพทย์จะเอาสายระบบเลือด, ผ้า หรือเฝือกที่พันออก
- เริ่มทำกายภาพ ขยับเข่า
- นอนพักโรงพยาบาล 5-6 วัน
- เริ่มหัดเดินโดยใช้ไม้ 4 ขา (Walker) ปกติจะใช้อยู่ประมาณ 1 เดือน

ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- ไม่มีอาการเจ็บปวดเวลาเคลื่อนไหวเข่า
- แก้ปัญหาขาโก่ง หรือขางอ หลังผ่าตัดขาจะตรงขึ้น
- เข่าจะมั่นคงเวลาลงน้ำหนัก

ข้อเสียการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
- ข้อเข่าเทียมมีอายุการใช้งาน เนื่องจากการสึกหรอของผิวข้อ ปกติจะมีอายุการใช้งานประมาณ 15-20 ปี ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแล
- หลังผ่าตัด ห้ามเล่นกีฬาที่มีการกระแทกที่เข่า เช่น การวิ่ง และกีฬาที่สามารถเล่นได้คือ ว่ายน้ำ ขี่จักรยานทางราบ ตีกอล์ฟ
- ห้ามยกน้ำหนัก

แบ่งปันสาระสุขภาพดีๆ โดย "ศูนย์กระดูกและข้อ" โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต
ปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่
info@PhuketHospital.com
www.PhuketHospital.com

ไม่มีความคิดเห็น:

 
ThaiBlog.info